วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557




ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมภาคใต้



ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้
กลุ่มที่ ๑ คติ ความคิด ความเชื่อ และหลักการพื้นฐานขององค์แห่งความรู้จากการที่ดินแดนภาคใต้มีคนจากวัฒนธรรมอื่นผลัดเปลี่ยนเข้ามาอย่างต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานับพันปี ท้าให้เกิดการผสมผสานความคิด ความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติที่หลากหลายจนส่งผลให้เกิดความคิดความเชื่อของคนภาคใต้ เช่น
๑. ความเชื่อเรื่องการนอนหันศีรษะไปทางทิศใต้ เป็นการนอนอย่างบูชาพระพุทธเจ้าและบูชาบิดา-มารดา ซึ่งเป็นมงคลสูงสุดแห่งชีวิต เนื่องจากตอนปรินิพพานพระองค์หันพระพักตร์ไปเบื้องหน้าคือทิศตะวันออก หันพระเศียรไปทางเบื้องขวา คนปักษ์ใต้นอนหันหัวไปทางทิศใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก (ทิศเบื้องหน้า) นอนตามทิศทางที่พระพุทธปรินิพพาน เรียกว่าบูชาพระพุทธเจ้าเป็นมงคลสูงสุดอย่างนี้ก็ได้
๒. ความเชื่อเรื่องพิธีขอป่า เป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านภาคใต้ทาขึ้นเพื่อขอตัดไม้ในป่า สาหรับปลูกสร้างบ้านเรือนหรือที่ทากิน โดยการนาอาหารคาวหวานพร้อมกับตัดกิ่งไม้เป็นรูปตะขอมาเซ่นไหว้เจ้าป่าเจ้าเขา แล้วอธิษฐานขออนุญาตเข้าถางป่า

๓. ความเชื่อเรื่องสถานภาพ สังคมของคนชาวใต้ให้ความสำคัญกับเพศชายสูงกว่าเพศหญิง การยกย่องบุรุษเพศในการเป็นหัวหน้าครอบครัว พร้อมกันนั้นก็คาดหวังว่าบุรุษต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม และต้องเป็นคนจริง คือ เชื่อถือได้ไม่เหลวไหล ขณะเดียวกันก็มีความคาดหวังให้ผู้หญิงเป็นผู้มีคุณค่าสมเป็นกุลสตรีไทยให้คุณค่าต่อพรหมจารีของผู้หญิงสูงมาก
๔. พิธีลอยเคราะห์ คนภาคใต้มีความเชื่อตามศาสนาพราหมณ์ว่า คนทุกคนมีช่วงเวลาที่ดาวพระเคราะห์มาเสวยอายุ ยามใดที่ดาวพระเคราะห์มาเสวยอายุก็จะเกิดโทษกับผู้นั้น อาจจะเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีเหตุการณ์ร้ายๆ มากระทบต่อการดาเนินชีวิตของตัวเองและญาติมิตร ดังนั้นจึงนิยมลอยเคราะห์เพื่อให้ตนพ้นจากเคราะห์กรรมนั้น ด้วยการนาต้นกล้วยมาทาเป็นแพ แล้วเอาผม เล็บ ขี้ไคล รวมทั้งดอกไม้ ธูปเทียน ใส่ในแพลอยน้ำไป

๕. ความเชื่อเรื่องโจ เป็นความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ที่ท้าขึ้นเพื่อใช้ป้องกันปัญหาการลักขโมยผลไม้ในสวนเนื่องจากการ แขวนโจที่ต้นไม้จะเป็นการบอกให้รู้ว่าได้มีการกำกับคาถาอาคมไว้ หากผู้ใดเก็บผลไม้จากต้นที่มีการแขวนโจไปรับประทาน จะท้าให้เจ็บป่วย เกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารในลักษณะต่าง ๆ เช่น ปวดท้อง ท้องบวม ท้องป่อง โดยไม่รู้สาเหตุ และตายในที่สุด


กลุ่มที่ ๒ ศิลปะ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม ประเพณีจากลักษณะทาง ภูมิศาสตร์ของภาคใต้ ท้าให้มีคนที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมอย่างหลากหลายเดินทางเข้ามาภาคใต้มีทั้งชาว พุทธ ชาวมุสลิม ต่างเชื้อชาติกัน เช่น คนไทย คนจีน และผู้ที่มีเชื้อสายมาเลย์ รวมทั้ง ชาวเมือง เช่น ชาวเล อาศัยอยู่กัน วัฒนธรรมภาคใต้จึงมีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น
๑.ประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาโดยตรง เช่น งานเทศกาลเข้าพรรษา ออกพรรษา เป็นต้น
๒. ประเพณีที่มีการสืบเนื่องจากศาสนา เช่น
งานบุญเดือนสิบ
 เป็นงานบุญประเพณีที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของชาวปักษ์ใต้ เนื่องจากเป็นงานที่ยึดถือปฏิบัติกันทั่วไปทุกจังหวัด และต่างยึดมั่นเข้มแข็งมาแต่โบราณ งานบุญเดือนสิบอาจเรียกได้ว่า ประเพณีชิงเปรตเป็นงานบุญรวมญาติ เมื่อถึงเวลาไม่ว่าทุกคนไปท้างานอาศัยอยู่หัวเมืองใดใกล้หรือไกล จะต้องเดินทางกลับไปเยือนถิ่นเกิดเสมอ เพื่อร่วมท้าบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษและพบปะเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง


ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช เป็นประเพณีการน้าผ้าไตรสรณาคมน์ไปบูชาและขึ้นไปห่มตกแต่งสถานที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนเคารพบูชาเดิมมีปีละครั้ง คือ วันขึ้น
15 ค่ำ เดือน 6 คือ วันวิสาขบูชา ต่อมาในราวรัชกาลที่ 4 จึงได้จัดเพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่ง คือ วันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เพื่อว่าพุทธศาสนิกชนน้าผ้าสีต่างๆ ขึ้นไปห่มแทน ซึ้งนิยมใช้ผ้า 3 สี ได้แก่ ขาว แดง และเหลือง


๓. ประเพณีที่จัดให้มีขึ้นตามฤดูกาลหรือวาระ เช่น
งานแข่งเรือ
ประเพณีการแข่งเรือกอและของชาวจังหวัดนราธิวาส เรือกอและเป็นเรือที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นเรื่อที่ใช้ในการท้าประมงพื้นบ้านชายฝั่งได้เป็นอย่างดี นิยมใช้กันในหมู่ชาวประมงมุสลิม เมื่อถึงฤดูน้ำหลากก็จะน้าเรือกอและมาแข่งขันกันโดยใช้ระบบชิงธง

งานให้ทานไฟ
ในเดือนยี่มีกระแสลมมรสุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือพัดพาเอาอากาศหนาวเย็นบางปีหนาวถึงต้องก่อกองไฟในตอนเช้ามืด ชาวบ้านจึงร่วมใจกันช่วยเหลือพระสงฆ์ ด้วยการมาช่วยก่อกองไฟให้พระสงฆ์ผิงสร้างความอบอุ่น และถือโอกาสท้าขนม ท้าอาหารมาถวายพระสงฆ์ไปด้วยกัน

ประเพณีกินผัก
เป็นประเพณีของคนไทยเชื้อสายจีนทางภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง และอื่นๆ ที่มีคนจีนอาศัยอยู่มาก จัดวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันอย่างเข้มแข็งทั้งเมือง คือถือศีลเคร่งครัดละลดกิเลสตัณหา ท้าจิตใจท้าวาจาและร่างกายให้บริสุทธิ์ เพราะสรรพสิ่งนั้นล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ใครปฏิบัติธรรมจึงจะเกิดความสุข ทุกคนจึงต่างนุ่งขาวห่มขาว ท้าอาหารเจแจกจ่ายกินกันทั้งเมือง มีการแห่ม้าทรง(เจ้าเข้าทรง มีการลุยไฟ และพิธีอื่นๆ อย่างคึกคัก จุดประทัดตลอดงาน



ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
ภาคใต้มีพื้นที่เป็นคาบสมุทรและชายฝั่งทะเล ท้าให้มีชนชาติต่าง ๆ เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย และเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ในอดีต จึงมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ เช่น คนจีน คนอินเดีย และคนที่มีเชื้อสายมาเลเซียที่นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้บริเวณชายฝั่ง และเกาะบางเกาะของภาคใต้ทางด้านตะวันตกมีชาวพื้นเมืองที่เรียกว่า ชาวเล ส่งผลให้เกิดการหล่อหลอมลักษณะเด่นให้มีการปรับตัว ปรับวิถีชีวิตจนเป็นลักษณะบุคลิกภาพเฉพาะของคนภาคใต้
ภูมิปัญญาการปลูกบ้านการสร้างที่อยู่อาศัยของชาวภาคใต้ในสมัยก่อน จะมีลักษณะเป็นบ้านหรือเรือน ซึ่งเรียกกันโดยสำเนียงภาษาใต้ว่า เรินลักษณะของเรือนของชาวใต้มี 2 ลักษณะ คือ เรือนเครื่องผูกและเรือนเครื่องสับ
เรือนเครื่องผูก
เรือนที่ใช้วัสดุต่าง ๆ ประกอบกันเช้ากับโครงสร้างและตัวเรือน โดยการผูกยึดด้วยเชือก เถาวัลย์ วัสดุหลักมักเป็นไม้ไผ่และไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่ล้วนแล้วแต่หาได้ ภายในท้องถิ่นมีการปรับแปรวัสดุง่าย เพียงน้ามาผูกยึด สอดสานเรียบร้อยเข้าด้วยกันไม่มีความคง ทนถาวรและให้ความปลอดภัยไม่มากนักภูมิปัญญาในการสร้างเรือนไทยเครื่องผูกของชาวใต้
เรือนเครื่องสับ
เป็นเรือนที่เกิดขึ้นหลังเรือนเครื่องผูก เนื่องจากเครื่องมือเครื่องใช้ ในการแปรรูปไม่พัฒนา ยังใช้ขวาน เลื่อย สำหรับตัดโค่น และตัดแต่งต้นไม้ให้เป็นเหลี่ยมได้ง่าย เรือนเครื่องสับจึงใช้ไม้เหลี่ยม ขั้นแรกอาจมีแค่ มีด พร้า ขวาน สำหรับสับตกแต่ง จึงเรียกเรือนที่ ใช้ซึ่งสับ ตกแต่งด้วยขวาน และมีดพร้าว่า เรือนเครื่องสับ

ภูมิปัญญาเกี่ยวกับอาหาร
คนภาคใต้มีพื้นที่ติดทะเลมาก อาหารหักจึงเป็นอาหารทะเล ซึ่งมีกลิ่นคาวจัด อาหารจึงต้อองมีเครื่องเทศโดยเฉพาะขมิ้น อาหารมีรสจัด เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด มีผักสดเคียงทุกมื้อเช่น สะตอ ลูกเนียง และผักเหนาะ และผักต่างๆ เป็นต้น
อาหารคาว
วัฒนธรรมการกินของคนภาคใต้ได้รับการผสมผสานกลมกลืนระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิม อาหารภาคใต้ได้แก่ แกงเหลือง แกงไตปลา ข้าวยำ คั่วกลิ้ง ปลาทอดขมิ้น เป็นต้น
คั่วกลิ้ง
แกงไตปลา




อาหารหวาน
ขนมพื้นเมืองที่มีลักษณะเฉพาะตนอยู่หลายชนิด เช่น ขนมลา ขนมบ้า ขนมกง ขนมจี้โจ้ เป็นต้น
 
ขนมจี้โจ้

ขนมกง

ขนมบ้า






ที่มา eic.wu.ac.th/Data_Download/.../ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น