ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมภาคอีสาน
ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคอีสาน
กลุ่มที่ ๑ คติความคิด ความเชื่อ
และหลักการพื้นฐานขององค์แห่งความรู้วิถีชีวิตของชาวอีสานนั้นผูกพนักกับความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภูต
ผีบรรพบุรุษ และดวงดาว การจะทำการสิ่งใดๆ จึงต้องมีพิธีรีตอง เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
และครอบครัว หลายๆ เรื่องเป็นกุศโลบายในการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
บางเรื่องก็เพื่อความสบายใจ ปลอดโปร่ง คลายกังวล และในยุคนี้ หลายๆ
พิธีกรรมก็ยังคงรักษาสืบเนื่องกันมา มิได้ขาด
ความเชื่อเรื่องฤกษ์งาม-ยามดี หมายถึงเวลาที่มีอิทธิพลในชีวิตประจำวันของคน
โดยเฉพาะเวลาประกอบพิธีต่างๆ ถ้าทำสิ่งใดไม่มีฤกษ์ยามย่อมจะติดขัด ความเชื่อของคนเชื่อว่า
ฤกษ์นอกจากจะช่วยให้อยู่ดีกินดี ยังมีผลในการสร้างความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจซึ่งฤกษ์ยามที่ควรทำรู้จัก
เช่น
ดิถีฤกษ์ห้ามกระทำมงคล
สงฆ์ ๑๔ นารี ๑๑ สมรส ๗ เผาศพ ๑๕ นั้น ไม่ดี ห้ามกระทำการเด็ดขาด
สงฆ์ ๑๔ นารี ๑๑ สมรส ๗ เผาศพ ๑๕ นั้น ไม่ดี ห้ามกระทำการเด็ดขาด
สงฆ์ ๑๔ หมายถึง วันข้างขึ้นหรือข้างแรม ๑๔ ค่ำการกระทำกิจการใดๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการนิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธีกรรม
นารี ๑๑ หมายถึง วันข้างขึ้นข้างแรม
๑๑ ค่ำการท างานมงคลที่เกี่ยวข้องกับสตรีทุกเภททุกวัย ไม่ควรกระทำในวันนี้
สมรส ๗ การทำพิธีมงคลสมรสก็มีข้อห้ามมิให้กระทำในวันข้างขึ้นหรือข้างแรม
๗ ค่ำ โดยเฉพาะถ้าเป็นข้างขึ้น ๗ ค่ำ ตรงกับวันศุกร์ห้ามเด็ดขาด
เผาศพ ๑๕ การเผาศพหรือปลงศพ
ก็มีข้อห้ามไม่ให้กระทำในวันข้างขึ้นหรือข้างแรม ๑๕ ค่ำยิ่งถ้าไปตรงกับวันศุกร์ ๑๕
ค่ำ โบราณท่านห้ามเด็ดขาดเพราะตรงกับวันปลงพระศพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ความเชื่อเรื่องการเพาะปลูกข้าว
การทำนาให้ได้ผลดีนั้นจะต้องถือปฏิบัติเคารพบูชาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวบ้านแต่ละท้องถิ่น เทพเจ้า เทวดาอารักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำนาก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งการปฏิบัติบูชาเซ่นไหว้ก็จะทำในโอกาสหรือวาระต่าง ๆ กันสำหรับคนอีสานแล้วจะยึดถือเทวดา ภูตผี ดังนี้
การทำนาให้ได้ผลดีนั้นจะต้องถือปฏิบัติเคารพบูชาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวบ้านแต่ละท้องถิ่น เทพเจ้า เทวดาอารักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำนาก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งการปฏิบัติบูชาเซ่นไหว้ก็จะทำในโอกาสหรือวาระต่าง ๆ กันสำหรับคนอีสานแล้วจะยึดถือเทวดา ภูตผี ดังนี้
ตาแฮก หรือ ผีตาแฮก
ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นผีเฝ้าไร่นา เมื่อชาวบ้านเข้าหักร้างถางพง เพื่อแปรสภาพที่ดินไปเป็นที่นา พวกเขาจะทำพิธีเชิญผีตาแฮกตนหนึ่งมาเป็นผู้เฝ้ารักษาที่นาและข้าวกล้า แต่ละปีเจ้าของนาจะต้องทำพิธีเซ่นสังเวยก่อนลงไถนา และเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว จะต้องแบ่งข้าวสี่เกวียนให้แก่ผีตาแฮกด้วย
ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นผีเฝ้าไร่นา เมื่อชาวบ้านเข้าหักร้างถางพง เพื่อแปรสภาพที่ดินไปเป็นที่นา พวกเขาจะทำพิธีเชิญผีตาแฮกตนหนึ่งมาเป็นผู้เฝ้ารักษาที่นาและข้าวกล้า แต่ละปีเจ้าของนาจะต้องทำพิธีเซ่นสังเวยก่อนลงไถนา และเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว จะต้องแบ่งข้าวสี่เกวียนให้แก่ผีตาแฮกด้วย
แถน
เป็นเทวดาหรือผีฟ้าอยู่บนสวรรค์ มีอำนาจบันดาลให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ แก่มนุษย์ สัตว์ และพืชพันธุ์ธัญญาหารบนโลกได้ ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือแถนมาก ยามทุกข์ร้อนสิ่งใด มักจะบนบานให้แถนช่วยเหลือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำนา คือ ชาวบ้านเชื่อว่า แถนมีอำนาจสั่ง ให้ฝนตกได้ แต่ละปี จึงมีพิธีจุดบั้งไฟบูชาแถน เพื่อให้แถนสั่งให้ผู้มีหน้าที่ทำให้ฝนตก เช่น นาค พระพิรุณ ประทานฝนลงมาให้
เป็นเทวดาหรือผีฟ้าอยู่บนสวรรค์ มีอำนาจบันดาลให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ แก่มนุษย์ สัตว์ และพืชพันธุ์ธัญญาหารบนโลกได้ ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือแถนมาก ยามทุกข์ร้อนสิ่งใด มักจะบนบานให้แถนช่วยเหลือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำนา คือ ชาวบ้านเชื่อว่า แถนมีอำนาจสั่ง ให้ฝนตกได้ แต่ละปี จึงมีพิธีจุดบั้งไฟบูชาแถน เพื่อให้แถนสั่งให้ผู้มีหน้าที่ทำให้ฝนตก เช่น นาค พระพิรุณ ประทานฝนลงมาให้
นางธรณี
ชาวบ้านเชื่อกันว่า นางธรณีหรือแม่ธรณีเป็นเทพเจ้าแห่งพื้นดิน ก่อนจะไถนาหรือปลูก ข้าว ต้องบอกกล่าวขออนุญาตต่อนางเสียก่อน และทำพิธีเซ่นไหว้ด้วยพาหวาน (มีข้าวนึ่ง ไข่ไก่) 1 ขา และขอให้นางธรณีช่วยปกป้องรักษาข้าวในนา อย่าให้มีศัตรูมาเบียดเบียน และขอให้ได้ทำนา ด้วยความสะดวกสบายตลอดฤดูกาล
ชาวบ้านเชื่อกันว่า นางธรณีหรือแม่ธรณีเป็นเทพเจ้าแห่งพื้นดิน ก่อนจะไถนาหรือปลูก ข้าว ต้องบอกกล่าวขออนุญาตต่อนางเสียก่อน และทำพิธีเซ่นไหว้ด้วยพาหวาน (มีข้าวนึ่ง ไข่ไก่) 1 ขา และขอให้นางธรณีช่วยปกป้องรักษาข้าวในนา อย่าให้มีศัตรูมาเบียดเบียน และขอให้ได้ทำนา ด้วยความสะดวกสบายตลอดฤดูกาล
ความเชื่อการสู่ขวัญ หรือ การสูตรขวน
การเสียขวัญย่อมจะส่งผลให้คนทำอะไรไม่ได้ ดีไม่ดีถึงกับเจ็บป่วยและอาจถึงตายก็ได้ ดังนั้นการสู่ขวัญจึงเป็นวิธีกรรมหนึ่งที่เรียกชีวากลับมาสู่ชีวิต ถ้าชีวิตมีชีวาก็จะสามารถทำอะไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับขวัญนี้มีการดำเนินการ เพื่อบำรุงขวัญ
การเสียขวัญย่อมจะส่งผลให้คนทำอะไรไม่ได้ ดีไม่ดีถึงกับเจ็บป่วยและอาจถึงตายก็ได้ ดังนั้นการสู่ขวัญจึงเป็นวิธีกรรมหนึ่งที่เรียกชีวากลับมาสู่ชีวิต ถ้าชีวิตมีชีวาก็จะสามารถทำอะไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับขวัญนี้มีการดำเนินการ เพื่อบำรุงขวัญ
กลุ่มที่ ๒ ศิลปะ
วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม ประเพณี
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคอีสานเป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมอันเก่าแก่ที่ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ลาว เขมร ภาคอีสานมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคอีสานเป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมอันเก่าแก่ที่ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ลาว เขมร ภาคอีสานมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ฮีตสิบสองคองสิบสี่ ฮีต มาจากคำว่า จารีต
หมายถึงสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีที่ดีงาม ในหนึ่งปี
ฮีตสิบสองเป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้คนในชุมชน ได้ออกมาร่วมกิจกรรมพบปะสังสรรค์กัน
เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงและเพื่อความสมานสามัคคีมีความรักใคร่กัน
ของคนในท้องถิ่น เช่น
เดือนอ้าย – บุญเข้ากรรม
เดือนยี่ - บุญคูณลาน
เดือนสาม – บุญข้าวจี่
เดือนสี่ – บุญเผวด
เดือนห้า - บุญสงกรานต์
เดือนหก – บุญบั้งไฟ
เดือนเจ็ด – บุญซำฮะ
เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา
เดือนเก้า – บุญข้าวประดับดิน
เดือนสิบ - บุญข้าวสาก
เดือนสิบเอ็ด – บุญออกพรรษา
เดือนสิบสอง – บุญกฐิน
เดือนอ้าย – บุญเข้ากรรม
เดือนยี่ - บุญคูณลาน
เดือนสาม – บุญข้าวจี่
เดือนสี่ – บุญเผวด
เดือนห้า - บุญสงกรานต์
เดือนหก – บุญบั้งไฟ
เดือนเจ็ด – บุญซำฮะ
เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา
เดือนเก้า – บุญข้าวประดับดิน
เดือนสิบ - บุญข้าวสาก
เดือนสิบเอ็ด – บุญออกพรรษา
เดือนสิบสอง – บุญกฐิน
วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย
เอกลักษณ์ของเรือนไทยภาคอีสาน มีลักษณะเด่นอยู่ ๓ ประเภท คือ
๑. ไม่นิยมทำหน้าต่างทางด้านหลังตัวเรือน ถ้าจะท่าจะเจาะเป็นช่องเล็กๆ พอให้ยื่นศีรษะออกไปได้เท่านั้น
๒. ไม่นิยมต่อยอดป้านลมให้สูงขึ้นไป เหมือนเรือนของชาวไทยล้านนาที่เรียกว่า 'กาแล'
๓. ไม่นิยมต้องเสาเรือนบนตอม่อเหมือนเรือนของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ด้วยเหตุที่ชาวไทยภาค อีสานปลูกเรือนด้วยการฝังเสา จึงไม่มีการตั้งบนตอม่อ
เอกลักษณ์ของเรือนไทยภาคอีสาน มีลักษณะเด่นอยู่ ๓ ประเภท คือ
๑. ไม่นิยมทำหน้าต่างทางด้านหลังตัวเรือน ถ้าจะท่าจะเจาะเป็นช่องเล็กๆ พอให้ยื่นศีรษะออกไปได้เท่านั้น
๒. ไม่นิยมต่อยอดป้านลมให้สูงขึ้นไป เหมือนเรือนของชาวไทยล้านนาที่เรียกว่า 'กาแล'
๓. ไม่นิยมต้องเสาเรือนบนตอม่อเหมือนเรือนของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ด้วยเหตุที่ชาวไทยภาค อีสานปลูกเรือนด้วยการฝังเสา จึงไม่มีการตั้งบนตอม่อ
วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกิน
อาหารหลักของชาวอีสาน คือ ข้าวเหนี่ยวส่วนอาหารจานหลักเกี่ยวกับข้าวเหนี่ยว คือ ปลาร้า ซึ่งเป็นปลาที่นำมาหมักกับเกลือ และรำหรือข้าวคั่ว นำมาปรุงเป็นอาหารประเภทต่างๆ เช่น น้ำพริกปลาร้า ข้าวจี่ ผัดหมี่โคราช แกงอ่อม
อาหารหลักของชาวอีสาน คือ ข้าวเหนี่ยวส่วนอาหารจานหลักเกี่ยวกับข้าวเหนี่ยว คือ ปลาร้า ซึ่งเป็นปลาที่นำมาหมักกับเกลือ และรำหรือข้าวคั่ว นำมาปรุงเป็นอาหารประเภทต่างๆ เช่น น้ำพริกปลาร้า ข้าวจี่ ผัดหมี่โคราช แกงอ่อม
![]() |
แกงอ่อม |
![]() |
ข้าวจี่ |
![]() |
น้ำพริกปลาร้า |
ที่มา www.tatc.ac.th/files/110528099292991_13112420205651.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น