วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



แบบฝึกหัดบทที่ 1-8
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                  รหัสวิชา 0026 008

แบบฝึกหัดบทที่ 1
จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ
1.ข้อมูล  หมายถึง
ตอบ        ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผลซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น
2.ข้อมูลปฐมภูมิ  คือ
ตอบ        เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการที่ผู้ใช้เป็นผู้เก็บข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะเก็บด้วยการสัมภาษณ์หรือสังเกตการณ์ เป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากยังไม่มีการเปลี่ยนรูป และมีรายละเอียดตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก
.ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ        เช่น ข้อมูลที่ได้จากการนับจำนวนรถที่เข้า - ออก มหาวิทยาลัยในช่วงเวลา 08.00 - 09.00 น . ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักศึกษา
3.ข้อมูลทุติยภูมิ  คือ
ตอบ        เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว เป็นข้อมูลในอดีต และมักจะเป็นข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์เบื้องต้นมาแล้ว ผู้ใช้นำมาใช้ได้เลย จึงประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย บางครั้งข้อมูลทุติยภูมิจะไม่ตรงกับความต้องการหรือมีรายละเอียดไม่เพียงพอ นอกจากนั้นผู้ใช้จะไม่ทราบถึงข้อผิดพลาดของข้อมูล ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ที่นำมาใช้ สรุปผลการวิจัยผิดพลาดไปด้วย
 ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ        เช่น สถิติการเกิดอุบัติเหตุโดยรถจักรยานยนต์ของนักศึกษาในปี 2540 - 2541 เป็นข้อมูลที่บางครั้งอาจถูกแปรรูปไปแล้ว แต่เนื่องจากบางครั้งเราไม่สามารถที่จะจัดเก็บข้อมูลปฐมภูมิได้เราจึงต้องศึกษาจากข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้แล้ว
4.สารสนเทศ  หมายถึง
ตอบ        ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
5.จงอธิบายประเภทของ        
ตอบ       1.สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำกับสารสนเทศ จำแนกได้ดังนี้
                1.1 แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ สารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมมและสัมมนาวิชาการ สิทธิบัตร เอกสารมาตรฐานต่าง ๆ ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายเหตุ วิทยานิพนธ์ และการถ่ายทอดทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
                1.2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขป เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่ สื่ออ้างอิงประเภทต่าง ๆ วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมถึงหนังสือ ตำรา ที่รวบรวมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน สารานุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่าง ๆ ดรรชนีและสาระสังเขป
                1.3 แหล่งตติยภูมิ (Tertiary Source) คือ สารสนเทศทีจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมและทุติยภูมิ จะไม่ได้ให้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จึงได้มีการจัดเก็บบันทึกข้อมูลไว้ในสื่อคอมพิวเตอร์ มักจะออกนำเผยแพร่ในรูปของ CD-ROM ฐานข้อมูลออฟไลน์
          2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง
                2.1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทีก รวมทั้งการเขียนและการพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันจนถึงปัจจุบัน
                2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นม้วนและเป็นแผ่น มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามต้น เช่น เอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ เอกสารสำคัญ วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
                2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกหรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อก และดิจิตอล เช่น เทปวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
                2.4 สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical Media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวิดี เป็นต้น ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษ
6.ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียง  คือ  
ตอบ        ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ  ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และต้องถูกต้องแม่นยำ  ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ
7.ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น
ตอบ        เป็นการประมวลผลทางข้อมูลเป็นการนำข้อมูล ที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ เรียกว่า ข้อมูลสนเทศหรือสารสนเทศ
8.ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น
ตอบ        ข้อมูลปฐมภูมิ
9.ผลของการลงทะเบียนเป็น
ตอบ        ข้อมูลตติยภูมิ
10.กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวันSectionวันอังคารเป็น
ตอบ        ข้อมูลทุติยภูมิ



แบบฝึกหัดบทที่  2
1. ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีให้บริการต่างๆตามหัวข้อต่อไปนี้มาอย่างละ 3 รายการ
                 1.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
                ตอบ       1.  http://www.sdtc.ac.th/student/content_view.php?no=116
                                (เป็นแหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ)
                                2.  http://www.unigang.com/Article/636
                                (เป็นแหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป)
                                3.  http://staff.cs.psu.ac.th/Apirada/344-332/1%20ความรู้เบื้องต้นเ.pdf
                                (เป็นแหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ
                1.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน
                ตอบ        1.  http://www.pickmeeasy.com/th/hot-topics/exchange.html  (เป็นเว็บอัตราแลกเปลี่ยน                               ประจำวัน)
                          2.  http://www.thunhoon.com/home/  (เป็นเว็บวิเคราะห์หุ้น)
                         3.  http://www.goldtraders.or.th/gold_day.php (เว็บสมาคมค้าทอง)
                1.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่่อสารมวลชน
                 ตอบ 1.  http://www.komchadluek.net/index.php (เว็บหนังสื่อพิมพ์คมชัดลึก)
                               2.  http://www.dailynews.co.th/ (เว็บหนังสื่อพิมพ์เดลินิวส์)
                                3.   http://www.thairath.co.th/  (เว็บหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ)
                1.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรม
               ตอบ      1.   http://www.dip.go.th/       (เว็บของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)
                              2.   http://teenet.tei.or.th/DatabaseGIS/amatanakorn.html 
                                 (เว็บรวบรวมโรงงานต่างๆในอมตะนคร)
                              3.  http://www.industry.go.th/page/index.aspx   ( เว็บของกระทรวงอุตสาหกรรม)
                 1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์
              ตอบ      1.   http://www.samunpri.com/       (เว็บสมุนไพรไทย)      
                          2.   http://www.bangkokhospital.com/        (เว็บโรงพยาบาลกรุงเทพ)
                          3.   http://health.kapook.com/          ( เว็บรวบรวมเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ)
                1.6  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ
             ตอบ         1.  http://befreshstudio.com/udomsuk/send.php       (เว็บแจ้งความออนไลน์)                  
                              2.   http://www.rpca.ac.th/              ( เว็บโรงเรียนนายร้อยตำรวจ)
                              3.  http://www.moj.go.th/th/cms/detail.php?id=429
                         ( เว็บที่รวบรวมกฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน)
                1.7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม
               ตอบ      1. http://www.civilclub.net/           (เว็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับวิศวกรรม)
                             2. http://www.coe.or.th/e_engineers/coeindex.php  ( เว็บสภาวิศวกรรม)
                             3. http://www.ceat.or.th/2010/index.    ( เว็บสมาคมวิศวกรรมปรึกษาแห่งประเทศไทย)

       1.8 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม
        ตอบ            1. http://www.kasetporpeang.com/ ( เว็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรพอเพียง)
                            2. http://krudaeng.wikispaces.com/
                             (เว็บรวบรวมความรู้ต่างๆเกี่ยวกับดิน)              
                            3. http://www.skywaterthai.com/001.html
                            ( เว็บรวบรวมความรู้ต่างๆเกี่ยวกับเรื่องน้ำ)
        1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ
                ตอบ       1.   http://www.healthyability.com/new_version5/
                                ( เว็บสร้างเสริมสุขภาพผู้พิการไทย)                          
                               2.   http://www.ddc.go.th/              (เว็บศูนย์พัฒนาอาชีพผู้พิการ)                    
                               3.   http://www.blind.or.th/         (เว็บมูลนิธิช่วยคนตาบอลแห่งประเทศไทย)
                        
2. มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่านมีอะไรบ้าง  บอกมาอย่างน้อย 3 ข้อ
 ตอบ      1.  การลงทะเบียนเรียนผ่านระบบ Internet
               2.  WiFi                        
               3. โครงการเครือข่ายห้องสมุด
3. ข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง  
 ตอบ      1.การลงทะเบียนเรียนผ่านระบบ  Internet  ให้ความสะดวกสบายกับเราไม่ต้องเดินไปถึงอาคารราชนครินทร์เพื่อไปติดต่อเรื่องการลงทะเบียนเรียน  เพียงแค่เราเข้าเว็บของมหาลัยเราก็สามารถลงทะเบียนเรียนได้แล้ว
               2.   WiFi  ให้ประโยชน์โดยการที่เราสามารถเชื่อมต่อแล้วเข้าไปค้นหางานหรือสิ่งที่เราสนใจสะดวกมากขึ้น         
               3.  โครงการเครือข่ายห้องสมุด  ให้ความสะดวกสบายในการหาหนังสือและการยืม คืน หนังสือ  หรือจ้างหนังสือเล่มนั้นๆ



แบบฝึกหัดบทที่ 3
1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ
ตอบ        ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ
2. จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
ตอบ        ง. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ตอบ        ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม
4.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
ตอบ        ค. สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง
5. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
ตอบ        ค. 5-4-1-2-3



แบบฝึกหัดบทที่ 4
1.ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้  อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิดแล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน
                 1.1  การบันทึกและจัดเก็บบันทึก
                ตอบ   การสัมภาษณ์,การจดบันทึก,การจัดหาด้วยเครื่งอัตโนมัติ
                 1.2  การแสดงผล
                ตอบ   เครื่องพิมพ์,จอภาพ,พลอตเตอร์,ลำโพง
                 1.3  การประมวลผล
               ตอบ   การโอนเงิน,การจดตั๋วเครื่อง,การสำรวจค่านิยม Poll
                 1.4  การสื่อสารและเครือค่าย
               ตอบ   WIFI , โทรศัพท์ , Internet

2. ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน
   (7)    ซอฟแวร์ประยุกต์ 
1.  ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ  ประมวลผลข้อมูล
   (4)   Information  Technology
2.  e-Revenue
   (1)   คอมพิวเตอร์ในยุกต์ประเมินผลข้อมูล
3.  เทคโนโลยีต่างๆที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ  ความถูกต้องแม่นยำ  และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
    (6)    เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย
4.  มีองค์ประกอบพื้นฐาน3ส่วน ได้แก่  Sender  Medium  และ Decoder
   (10)   ช่วยเพิ่มผลผลิต  เพิ่มต้นทุน  และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5.  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
   (8)   ซอฟต์แวร์ระบบ
6.  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    (3)   การนำเสนอบทเรียนในรูปแบบมัลติมีเดียเพื่อผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตามระดับความสามารถ
7.  โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆภายในระบบคอมพิวเตอร์
    (5)   EDI
8.  โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ  จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภทใด
    (9)    การสื่อสารโทรคมนาคม
9.  CAI
    (2)    บริการชำระภาษีออนไลน์
10.  ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัดบทที่ 5
คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ
ตอบ         การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การผลิต การจัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในภายนอกองค์การ โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์การจัดการสารสนเทศ
2.การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร
ตอบ       - ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อบุคคล
               การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในด้าน การดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ การจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยการจัดทำฐานข้อมูลส่วนบุคคลรวบรวมทั้งข้อมูลการดำรงชีวิต การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ ในการดำรงชีวิตประจำวัน บุคคลย่อมต้องการสารสนเทศหลายด้าน เพื่อใช้ชีวิตอย่างราบรื่น มีความก้าวหน้า และมีความสุข
              - ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ
     การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์การ ในด้านการบริหารจัดการ การดำเนินงาน และ กฎหมาย ดังนี้
              1.  ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ ผู้บริหารต้องอาศัยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั้งกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ ให้สามารถแข่งขันกับองค์การคู่แข่งต่างๆ
              2.  ความสำคัญด้านการดำเนินงาน สารสนเทศนับมีความสำคัญต่อการดำเนินงานในหลายลักษณะ เป็นทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพ และ ความคล่องตัวในการดำเนินงาน และหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานในด้านต่างๆ ตามที่หน่วยงานดำเนินการ การจัดการสารสนเทศช่วยให้การใช้สารสนเทศช่วยให้การใช้สารสนเทศเพื่อรองรับการปฏิบัติงาน ตามกระแสงานหรือขั้นตอน
              3.  ความสำคัญด้านกฎหมาย การจัดการสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องสอดคล้องกับ กฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับทั้งในระดับภายในและภายนอกองค์การโดยเฉพาะสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง กับการเงินและบัญชีที่ต้องรวบรวมจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ ทั้งนี้ เนื่องจากการไม่ปฎิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต้องมีบทลงโทษ
3.พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุคอะไรบ้าง
ตอบ       การจัดการสารสนเทศโดยทั่วไป แบ่งอย่างกว้างได้เป็น 2 ยุค คือ การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ และการจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
4.จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
ตอบ       1.  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
             2.  การใช้บัตร ATM ในการโอนเงิน-ถอนเงิน
             3.  การใช้โทรศัพย์บันทึกเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะโดยภาพ เสียง หรือข้อความ

แบบฝึกหัดบทที่ 6
 คำชี้แจง  : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด
ตอบ       เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.  เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
ตอบ       ระบบการเรียนสอนทางไกล
3.  การฝากอนเงินผ่าน ATM เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?
ตอบ       ระบบอัตโนมัติ

4.ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ       ถูกทุกข้อ
5.เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?
ตอบ       การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
6.เครื่องมือทีสำคัญในการจัดสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
ตอบ       ถูกทุกข้อ
7.ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ       เทคโนโลยีทำให้การสร้างพักอาศัยมีคุณภาพ
8.ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
ตอบ         เครื่องถ่ายเอกสาร
9.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ       ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
10.ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?
ตอบ       ถูกทุกข้อ


แบบฝึกหัดบทที่ 7
 คำชี้แจง : จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.หน้าที่ของไฟร์วอลล์(Firewall)คือ
 ตอบ      เป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสารระหว่างเขตที่เชื่อถือต่างกัน เช่น อินเตอร์เน็ต (อาจนับเป็นเขตที่เชื่อถือไม่ได้) และ อินทราเน็ต (เขตที่เชื่อถือได้) โดยการกำหนดกฎและระเบียบมาบังคับใช้โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลระบบเครือข่าย ระดับโพรโทคอลของระบบเครือข่าย ความผิดพลาดของการปรับแต่งอาจส่งผลทำให้ไฟล์วอลมีช่องโหว่ อาจนำไปสู่สาเหตุของการโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้
2.จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์
 ตอบ      worm หมายถึง โปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่นๆ โดยจะแพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ที่อยู่บนเครือข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายกับตัวหนอนที่เจาะไซหรือชอนไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆแพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอกตนเองออกและส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป
3.ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
 ตอบ      มี  2  ชนิด ได้แก่                1. Application viruses
                                                             2. System viruses
4.ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัวคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ       4.1  องค์กรมีนโยบายการให้ผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทุกคนต้องเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ หรืออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
               4.2  มีการกำหนดสิทธิให้ผู้ใช้ระบบเข้าใช้ระบบในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น
               4.3  องค์กรอาจมีการนำอุปกรณ์ตรวจจับทางชีวภาพมาใช้ในการควบคุมการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์
               4.4  มีการเข้ารหัสข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
               4.5   มีระเบียบการปฏิบัติในการควบคุมอย่างชัดแจ้งในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน  ได้แก่
 ตอบ      การที่เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนทำให้เกิด สภาพที่เรียกว่าพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberspace) และโลกเสมือนจริง (Virtual World) นั้นมีผลทั้งในด้านดีและด้านเสีย คุณธรรมและจริยธรรมในการทำกิจกรรมต่างๆ บนพื้นที่ไซเบอร์ คือ มาตรการหนึ่งที่จะเป็นปัจจัยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเพื่อที่จะให้เกิดการพัฒนาอย่างเหมาะสมและยั่งยืนต่อไปได้แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาบนพื้นที่ไซเบอร์
               1.  มาตรการทางการบริหาร หน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง รวมทั้งต้องมีบุคลากรที่เหมาะสม และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และในขณะนี้ทางภาครัฐได้มีการดำเนินนโยบายขยายการใช้อินเทอร์เน็ตไปสู่ สังคมระดับรากหญ้า หากไม่มีการระมัดระวังและเตรียมการที่ดีก็อาจเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมและ กิจกรรมที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตไปสู่รากหญ้าและเยาวชนในชนบท แต่หากมีการเตรียมการที่ดี ตำบลอาจใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการกระจายความเจริญทางเทคโนโลยีและกระจาย องค์ความรู้ใหม่ ๆไปสู่สังคมได้ ดังนั้นหน่วยงานดังกล่าวจะต้องมีการวางมาตรการที่เด็ดขาดในการควบคุมดูแล พื้นที่ไซเบอร์ มีนโยบายที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
               2.  มาตรการทางกฎหมายหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายต้องมีบุคลากรอย่างเพียงพอ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นอกจากกำหนดให้การกระทำอันมิชอบทั้งหลายบนอินเทอร์เน็ต เป็นความผิดที่ไม่ต่างจากการกระทำในโลกจริงแล้วยังพยายามแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย เพิ่มอำนาจการสืบสวนสอบสวน เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานให้กับเจ้าพนักงานของรัฐรวมทั้งกำหนดให้ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวพันกับข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลายมีหน้าที่ตาม กฎหมายต้องจัดเก็บส่งมอบหรือให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานเพื่อช่วยกันนำตัว ผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
               3.  มาตรการทางการ ควบคุมจรรยาบรรณ จะต้องมีเครือข่าย ที่มีการดูแล ผู้ประกอบอาชีพและทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ ที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ควรมีการป้องกันการชี้นำความคิดที่ผิดให้แก่คนในสังคม การที่ต้องมีการกระตุ้นให้เกิดสมาคมและเครือข่ายเพื่อดูแลกันเอง เพราะการเก็บข้อมูล หรือแสดงข้อมูล เพื่อแสดงตัวตน และความน่าเชื่อถือในขอบเขตเรื่องธุรกิจ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ก็เพื่อให้สามารถยืนยันตัวตนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และองค์กร เครือ ข่าย สมาคม ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังสามารถช่วยเหลือคนในวงการอินเตอร์เน็ต ช่วยคนทำเว็บไซต์ ใช้สายสัมพันธ์ในการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
               4.  มาตรการทางสังคม ต้องยกระดับและพัฒนาสถาบันพื้นฐาน เช่น สถาบันครอบครัวสถาบันศาสนา สถาบันทางสังคม และสถาบันทางธุรกิจให้มีความรู้ ความสามารถด้านไอทีเพียงพอที่จะดูแลบุคคลในสถาบันของตน โดยที่ผู้นำองค์กรทางธุรกิจและสังคมต้องมีความรู้ทาง ไอทีเป็นอย่างดี
               5.  มาตรการทางการศึกษา ควรพัฒนาการศึกษาระบบสารสนเทศและความรู้ไอทีให้กว้างขวาง รวมทั้งจัดทำหลักสูตรออนไลน์ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งในและนอกระบบการศึกษา
               6.  มาตรการทาง คุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่ การจัดระบบการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ทางด้านคุณธรรมและ จริยธรรม เพื่อให้เขาเหล่านั้นเข้าไปชักนำโลกเสมือนจริงและการทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซ เบอร์ไปในทางที่ถูกที่ควรดังนั้นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี ประกาศใช้พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ดำเนินการเอาผิดกับผู้ที่กระทำผิดอย่างจริงจัง มีผู้ควบคุมดูและระบบใหญ่และระบบย่อยทั้งหมด เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิดขึ้น นอกจากนี้ต้องมีการส่งเสริมให้คนมีคุณภาพเข้ามาใช้อินเทอร์เน็ต และต้องสร้างเว็บไซต์ที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้นมากๆ รณรงค์ให้ผู้บริหารฯ อาจารย์ นักวิชาการ หรือแม้กะทั่งนักเรียน นิสิต นักศึกษา ทำการเขียนบทความลง website  webblog เหล่านี้จะเป็นการส่งเสริมผลักดันให้มีเว็บไซต์คุณภาพ ที่สำคัญคือสถานศึกษาต้องปลูกฝังจิตสำนึกของนักเรียนในสถาบันของตนเองให้มี ความรู้ ความเข้าใจในการใช้Internet อย่างถูกต้อง


แบบฝึกหัดบทที่ 8

คำชี้แจง : จงพิจารณากรณีศึกษาต่อไปนี้
1.   "นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานขอคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง" การกระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
ตอบ       ผิดเพราะทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนและผิดจริยธรรมมากๆ ทั้งต่อด้านตนเองและสังคม และผิดกฎหมาย ทางด้านการละเมิดลิขสิทธิ์ของนาย A


2.   "นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตราต่างๆ อีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J " การกระทำอย่างนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหนจงอธิบาย
ตอบ       ไม่ผิดจริยธรรมหรือกฎหมายเพราะ นาย J แค่ต้องการทำเพื่อความสนุกสนานเท่านั้นไม่ได้คิดจะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน


ชื่อ สกุล   นางสาววิชชุดา เบ้าหล่อเพชร รหัสนิสิต 57010912577

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คุณค่าและความสำคัญภูมิปัญญาไทย


คุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
คุณค่าของภูมิปัญญาไทย ได้แก่ ประโยชน์ และความสำคัญของภูมิปัญญา ที่บรรพบุรุษไทย ได้สร้างสรรค์ และสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง จากอดีตสู่ปัจจุบัน ทำให้คนในชาติเกิดความรัก และความภาคภูมิใจ ที่จะร่วมแรงร่วมใจสืบสานต่อไปในอนาคต เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ สถาปัตยกรรม ประเพณีไทย การมีน้ำใจ ศักยภาพในการประสานผลประโยชน์ เป็นต้น ภูมิปัญญาไทยจึงมีคุณค่า และความสำคัญดังนี้
๑. ภูมิปัญญาไทยช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น
พระมหากษัตริย์ไทยได้ใช้ภูมิปัญญาในการสร้างชาติ สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศชาติมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงปกครองประชาชน ด้วยพระเมตตา แบบพ่อปกครองลูก ผู้ใดประสบความเดือดร้อน ก็สามารถตีระฆัง แสดงความเดือดร้อน เพื่อขอรับพระราชทานความช่วยเหลือ ทำให้ประชาชนมีความจงรักภักดีต่อพระองค์ ต่อประเทศชาติร่วมกันสร้างบ้านเรือนจนเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงใช้ภูมิปัญญากระทำยุทธหัตถี จนชนะข้าศึกศัตรู และทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยคืนมาได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน พระองค์ทรงใช้ภูมิปัญญาสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ และเหล่าพสกนิกรมากมายเหลือคณานับ ทรงใช้พระปรีชาสามารถ แก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมือง ภายในประเทศ จนรอดพ้นภัยพิบัติหลายครั้ง พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน แม้แต่ด้านการเกษตร พระองค์ได้พระราชทานทฤษฎีใหม่ให้แก่พสกนิกร ทั้งด้านการเกษตรแบบสมดุลและยั่งยืน ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นำความสงบร่มเย็นของประชาชนให้กลับคืนมา แนวพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" แบ่งออกเป็น ๓ ขั้น โดยเริ่มจาก ขั้นตอนแรก ให้เกษตรกรรายย่อย "มีพออยู่พอกิน" เป็นขั้นพื้นฐาน โดยการพัฒนาแหล่งน้ำ ในไร่นา ซึ่งเกษตรกรจำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยราชการ มูลนิธิ และหน่วยงานเอกชน ร่วมใจกันพัฒนาสังคมไทย ในขั้นที่สอง เกษตรกรต้องมีความเข้าใจ ในการจัดการในไร่นาของตน และมีการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ เพื่อสร้างประสิทธิภาพทางการผลิต และการตลาด การลดรายจ่ายด้านความเป็นอยู่ โดยทรงตระหนักถึงบทบาทขององค์กรเอกชน เมื่อกลุ่มเกษตรวิวัฒน์มาขั้นที่ ๒ แล้ว ก็จะมีศักยภาพ ในการพัฒนาไปสู่ขั้นที่สาม ซึ่งจะมีอำนาจในการต่อรองผลประโยชน์กับสถาบันการเงินคือ ธนาคาร และองค์กรที่เป็นเจ้าของแหล่งพลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการผลิต โดยมีการแปรรูปผลิตผล เช่น โรงสี เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตผล และขณะเดียวกันมีการจัดตั้งร้านค้าสหกรณ์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน อันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลในสังคม จะเห็นได้ว่า มิได้ทรงทอดทิ้งหลักของความสามัคคีในสังคม และการจัดตั้งสหกรณ์ ซึ่งทรงสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรสร้างอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจ จึงจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงจัดได้ว่า เป็นสังคมเกษตรที่พัฒนาแล้ว สมดังพระราชประสงค์ที่ทรงอุทิศพระวรกาย และพระสติปัญญา ในการพัฒนาการเกษตรไทยตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์

๒. สร้างความภาคภูมิใจ และศักดิ์ศรี เกียรติภูมิแก่คนไทย
คนไทยในอดีตที่มีความสามารถปรากฏในประวัติศาสตร์มีมาก เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ เช่น นายขนมต้มเป็นนักมวยไทย ที่มีฝีมือเก่งในการใช้อวัยวะทุกส่วน ทุกท่าของแม่ไม้มวยไทย สามารถชกมวยไทย จนชนะพม่าได้ถึงเก้าคนสิบคนในคราวเดียวกัน แม้ในปัจจุบัน มวยไทยก็ยังถือว่า เป็นศิลปะชั้นเยี่ยม เป็นที่ นิยมฝึกและแข่งขันในหมู่คนไทยและชาวต่าง ประเทศ ปัจจุบันมีค่ายมวยไทยทั่วโลกไม่ต่ำกว่า ๓๐
,๐๐๐ แห่ง ชาวต่างประเทศที่ได้ฝึกมวยไทย จะรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจ ในการที่จะใช้กติกา ของมวยไทย เช่น การไหว้ครูมวยไทย การออก คำสั่งในการชกเป็นภาษาไทยทุกคำ เช่น คำว่า "ชก" "นับหนึ่งถึงสิบ" เป็นต้น ถือเป็นมรดก ภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้ ภูมิปัญญาไทยที่โดด เด่นยังมีอีกมากมาย เช่น มรดกภูมิปัญญาทาง ภาษาและวรรณกรรม โดยที่มีอักษรไทยเป็นของ ตนเองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมไทยถือว่า เป็นวรรณกรรมที่มีความไพเราะ ได้อรรถรสครบทุกด้าน วรรณกรรมหลายเรื่องได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา
ด้านอาหาร อาหารไทยเป็นอาหารที่ปรุงง่าย พืชที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น และราคาถูก มี คุณค่าทางโภชนาการ และยังป้องกันโรคได้หลายโรค เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ใบมะกรูด ใบโหระพา ใบกะเพรา เป็นต้น

๓. สามารถปรับประยุกต์หลักธรรมคำสอนทางศาสนาใช้กับวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม
คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยนำหลักธรรมคำสอนของศาสนา มาปรับใช้ในวิถีชีวิต ได้อย่างเหมาะสม ทำให้คนไทยเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประนีประนอม รักสงบ ใจเย็น มีความอดทน ให้อภัยแก่ผู้สำนึกผิด ดำรงวิถีชีวิตอย่างเรียบง่าย ปกติสุข ทำให้คนในชุมชนพึ่งพากันได้ แม้จะอดอยากเพราะ แห้งแล้ง แต่ไม่มีใครอดตาย เพราะพึ่งพาอาศัย กัน แบ่งปันกันแบบ "พริกบ้านเหนือเกลือบ้านใต้" เป็นต้น ทั้งหมดนี้สืบเนื่องมาจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นการใช้ภูมิปัญญา ในการนำเอาหลักของพระพุทธศาสนามา ประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และดำเนินกุศโลบาย ด้านต่างประเทศ จนทำให้ชาวพุทธทั่วโลกยกย่อง ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางพุทธศาสนา และเป็น ที่ตั้งสำนักงานใหญ่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์ แห่งโลก (พสล.) อยู่เยื้องๆ กับอุทยานเบญจสิริ กรุงเทพมหานคร โดยมีคนไทย (ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ องคมนตรี) ดำรงตำแหน่งประธาน พสล. ต่อจาก ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล

๔. สร้างความสมดุลระหว่างคนในสังคม และธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
ภูมิปัญญาไทยมีความเด่นชัดในเรื่องของการยอมรับนับถือ และให้ความสำคัญแก่คน สังคม และธรรมชาติอย่างยิ่ง มีเครื่องชี้ที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนมากมาย เช่น ประเพณีไทย ๑๒ เดือน ตลอดทั้งปี ล้วนเคารพคุณค่าของธรรมชาติ ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่ทำใน ฤดูร้อนซึ่งมีอากาศร้อน ทำให้ต้องการความเย็น จึงมีการรดน้ำดำหัว ทำความสะอาดบ้านเรือน และธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีการแห่นางสงกรานต์ การทำนายฝนว่าจะตกมากหรือน้อยในแต่ละปี ส่วนประเพณีลอยกระทง คุณค่าอยู่ที่การบูชา ระลึกถึงบุญคุณของน้ำ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของ คน พืช และสัตว์ ให้ได้ใช้ทั้งบริโภคและอุปโภค ในวันลอยกระทง คนจึงทำความสะอาดแม่น้ำ ลำธาร บูชาแม่น้ำจากตัวอย่างข้างต้น ล้วนเป็น ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสังคมและธรรมชาติ ทั้งสิ้น

ในการรักษาป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ได้ประยุกต์ให้มีประเพณีการบวชป่า ให้คนเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม ยังความอุดมสมบูรณ์แก่ต้นน้ำ ลำธาร ให้ฟื้นสภาพกลับคืนมาได้มาก
อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพหลักของคนไทย ที่คำนึงถึงความสมดุล ทำแต่น้อยพออยู่พอกิน แบบ "เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน" ของพ่อทองดี นันทะ เมื่อเหลือกิน ก็แจกญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน บ้านใกล้เรือนเคียง นอกจากนี้ ยังนำไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของอย่างอื่น ที่ตนไม่มี เมื่อเหลือใช้จริงๆ จึงจะนำไปขาย อาจกล่าวได้ว่า เป็นการเกษตรแบบ "กิน-แจก-แลก-ขาย" ทำให้คนในสังคมได้ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปันกัน เคารพรัก นับถือ เป็นญาติกัน ทั้งหมู่บ้าน จึงอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ธรรมชาติไม่ถูกทำลายไปมากนัก เนื่องจากทำพออยู่พอกิน ไม่โลภมากและไม่ทำลายทุกอย่างผิด กับในปัจจุบัน ถือเป็นภูมิปัญญาที่สร้างความ สมดุลระหว่างคน สังคม และธรรมชาติ

๕. เปลี่ยนแปลงปรับปรุงได้ตามยุคสมัย
แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป ความรู้สมัยใหม่ จะหลั่งไหลเข้ามามาก แต่ภูมิปัญญาไทย ก็สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคสมัย เช่น การรู้จักนำเครื่องยนต์มาติดตั้งกับเรือ ใส่ใบพัด เป็นหางเสือ ทำให้เรือสามารถแล่นได้เร็วขึ้น เรียกว่า เรือหางยาว การรู้จักทำการเกษตรแบบผสมผสาน สามารถพลิกฟื้นคืนธรรมชาติให้ อุดมสมบูรณ์แทนสภาพเดิมที่ถูกทำลายไป การรู้จักออมเงิน สะสมทุนให้สมาชิกกู้ยืม ปลดเปลื้องหนี้สิน และจัดสวัสดิการแก่สมาชิก จนชุมชนมีความมั่นคง เข้มแข็ง สามารถช่วยตนเองได้หลายร้อยหมู่บ้านทั่วประเทศ เช่น กลุ่มออมทรัพย์คีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดในรูปกองทุนหมุนเวียนของชุมชน จนสามารถช่วยตนเองได้

เมื่อป่าถูกทำลาย เพราะถูกตัดโค่น เพื่อปลูกพืชแบบเดี่ยว ตามภูมิปัญญาสมัยใหม่ ที่หวังร่ำรวย แต่ในที่สุด ก็ขาดทุน และมีหนี้สิน สภาพแวดล้อมสูญเสียเกิดความแห้งแล้ง คนไทยจึงคิดปลูกป่า ที่กินได้ มีพืชสวน พืชป่าไม้ผล พืชสมุนไพร ซึ่งสามารถมีกินตลอดชีวิตเรียกว่า "วนเกษตร" บางพื้นที่ เมื่อป่าชุมชนถูกทำลาย คนในชุมชนก็รวมตัวกัน เป็นกลุ่มรักษาป่า ร่วมกันสร้างระเบียบ กฎเกณฑ์กันเอง ให้ทุกคนถือปฏิบัติได้ สามารถรักษาป่าได้อย่างสมบูรณ์ดังเดิม

เมื่อปะการังธรรมชาติถูกทำลาย ปลาไม่มีที่อยู่อาศัย ประชาชนสามารถสร้าง "อูหยัม" ขึ้น เป็นปะการังเทียม ให้ปลาอาศัยวางไข่ และแพร่พันธุ์ให้เจริญเติบโต มีจำนวนมากดังเดิมได้ ถือเป็นการใช้ภูมิปัญญาปรับปรุงประยุกต์ใช้ได้ตามยุคสมัย



ที่มา http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=23&chap=1&page=t23-1-infodetail05.html

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557




ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมภาคใต้



ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้
กลุ่มที่ ๑ คติ ความคิด ความเชื่อ และหลักการพื้นฐานขององค์แห่งความรู้จากการที่ดินแดนภาคใต้มีคนจากวัฒนธรรมอื่นผลัดเปลี่ยนเข้ามาอย่างต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานับพันปี ท้าให้เกิดการผสมผสานความคิด ความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติที่หลากหลายจนส่งผลให้เกิดความคิดความเชื่อของคนภาคใต้ เช่น
๑. ความเชื่อเรื่องการนอนหันศีรษะไปทางทิศใต้ เป็นการนอนอย่างบูชาพระพุทธเจ้าและบูชาบิดา-มารดา ซึ่งเป็นมงคลสูงสุดแห่งชีวิต เนื่องจากตอนปรินิพพานพระองค์หันพระพักตร์ไปเบื้องหน้าคือทิศตะวันออก หันพระเศียรไปทางเบื้องขวา คนปักษ์ใต้นอนหันหัวไปทางทิศใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก (ทิศเบื้องหน้า) นอนตามทิศทางที่พระพุทธปรินิพพาน เรียกว่าบูชาพระพุทธเจ้าเป็นมงคลสูงสุดอย่างนี้ก็ได้
๒. ความเชื่อเรื่องพิธีขอป่า เป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านภาคใต้ทาขึ้นเพื่อขอตัดไม้ในป่า สาหรับปลูกสร้างบ้านเรือนหรือที่ทากิน โดยการนาอาหารคาวหวานพร้อมกับตัดกิ่งไม้เป็นรูปตะขอมาเซ่นไหว้เจ้าป่าเจ้าเขา แล้วอธิษฐานขออนุญาตเข้าถางป่า

๓. ความเชื่อเรื่องสถานภาพ สังคมของคนชาวใต้ให้ความสำคัญกับเพศชายสูงกว่าเพศหญิง การยกย่องบุรุษเพศในการเป็นหัวหน้าครอบครัว พร้อมกันนั้นก็คาดหวังว่าบุรุษต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม และต้องเป็นคนจริง คือ เชื่อถือได้ไม่เหลวไหล ขณะเดียวกันก็มีความคาดหวังให้ผู้หญิงเป็นผู้มีคุณค่าสมเป็นกุลสตรีไทยให้คุณค่าต่อพรหมจารีของผู้หญิงสูงมาก
๔. พิธีลอยเคราะห์ คนภาคใต้มีความเชื่อตามศาสนาพราหมณ์ว่า คนทุกคนมีช่วงเวลาที่ดาวพระเคราะห์มาเสวยอายุ ยามใดที่ดาวพระเคราะห์มาเสวยอายุก็จะเกิดโทษกับผู้นั้น อาจจะเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีเหตุการณ์ร้ายๆ มากระทบต่อการดาเนินชีวิตของตัวเองและญาติมิตร ดังนั้นจึงนิยมลอยเคราะห์เพื่อให้ตนพ้นจากเคราะห์กรรมนั้น ด้วยการนาต้นกล้วยมาทาเป็นแพ แล้วเอาผม เล็บ ขี้ไคล รวมทั้งดอกไม้ ธูปเทียน ใส่ในแพลอยน้ำไป

๕. ความเชื่อเรื่องโจ เป็นความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ที่ท้าขึ้นเพื่อใช้ป้องกันปัญหาการลักขโมยผลไม้ในสวนเนื่องจากการ แขวนโจที่ต้นไม้จะเป็นการบอกให้รู้ว่าได้มีการกำกับคาถาอาคมไว้ หากผู้ใดเก็บผลไม้จากต้นที่มีการแขวนโจไปรับประทาน จะท้าให้เจ็บป่วย เกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารในลักษณะต่าง ๆ เช่น ปวดท้อง ท้องบวม ท้องป่อง โดยไม่รู้สาเหตุ และตายในที่สุด


กลุ่มที่ ๒ ศิลปะ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม ประเพณีจากลักษณะทาง ภูมิศาสตร์ของภาคใต้ ท้าให้มีคนที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมอย่างหลากหลายเดินทางเข้ามาภาคใต้มีทั้งชาว พุทธ ชาวมุสลิม ต่างเชื้อชาติกัน เช่น คนไทย คนจีน และผู้ที่มีเชื้อสายมาเลย์ รวมทั้ง ชาวเมือง เช่น ชาวเล อาศัยอยู่กัน วัฒนธรรมภาคใต้จึงมีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น
๑.ประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาโดยตรง เช่น งานเทศกาลเข้าพรรษา ออกพรรษา เป็นต้น
๒. ประเพณีที่มีการสืบเนื่องจากศาสนา เช่น
งานบุญเดือนสิบ
 เป็นงานบุญประเพณีที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของชาวปักษ์ใต้ เนื่องจากเป็นงานที่ยึดถือปฏิบัติกันทั่วไปทุกจังหวัด และต่างยึดมั่นเข้มแข็งมาแต่โบราณ งานบุญเดือนสิบอาจเรียกได้ว่า ประเพณีชิงเปรตเป็นงานบุญรวมญาติ เมื่อถึงเวลาไม่ว่าทุกคนไปท้างานอาศัยอยู่หัวเมืองใดใกล้หรือไกล จะต้องเดินทางกลับไปเยือนถิ่นเกิดเสมอ เพื่อร่วมท้าบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษและพบปะเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง


ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช เป็นประเพณีการน้าผ้าไตรสรณาคมน์ไปบูชาและขึ้นไปห่มตกแต่งสถานที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนเคารพบูชาเดิมมีปีละครั้ง คือ วันขึ้น
15 ค่ำ เดือน 6 คือ วันวิสาขบูชา ต่อมาในราวรัชกาลที่ 4 จึงได้จัดเพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่ง คือ วันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เพื่อว่าพุทธศาสนิกชนน้าผ้าสีต่างๆ ขึ้นไปห่มแทน ซึ้งนิยมใช้ผ้า 3 สี ได้แก่ ขาว แดง และเหลือง


๓. ประเพณีที่จัดให้มีขึ้นตามฤดูกาลหรือวาระ เช่น
งานแข่งเรือ
ประเพณีการแข่งเรือกอและของชาวจังหวัดนราธิวาส เรือกอและเป็นเรือที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นเรื่อที่ใช้ในการท้าประมงพื้นบ้านชายฝั่งได้เป็นอย่างดี นิยมใช้กันในหมู่ชาวประมงมุสลิม เมื่อถึงฤดูน้ำหลากก็จะน้าเรือกอและมาแข่งขันกันโดยใช้ระบบชิงธง

งานให้ทานไฟ
ในเดือนยี่มีกระแสลมมรสุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือพัดพาเอาอากาศหนาวเย็นบางปีหนาวถึงต้องก่อกองไฟในตอนเช้ามืด ชาวบ้านจึงร่วมใจกันช่วยเหลือพระสงฆ์ ด้วยการมาช่วยก่อกองไฟให้พระสงฆ์ผิงสร้างความอบอุ่น และถือโอกาสท้าขนม ท้าอาหารมาถวายพระสงฆ์ไปด้วยกัน

ประเพณีกินผัก
เป็นประเพณีของคนไทยเชื้อสายจีนทางภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง และอื่นๆ ที่มีคนจีนอาศัยอยู่มาก จัดวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันอย่างเข้มแข็งทั้งเมือง คือถือศีลเคร่งครัดละลดกิเลสตัณหา ท้าจิตใจท้าวาจาและร่างกายให้บริสุทธิ์ เพราะสรรพสิ่งนั้นล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ใครปฏิบัติธรรมจึงจะเกิดความสุข ทุกคนจึงต่างนุ่งขาวห่มขาว ท้าอาหารเจแจกจ่ายกินกันทั้งเมือง มีการแห่ม้าทรง(เจ้าเข้าทรง มีการลุยไฟ และพิธีอื่นๆ อย่างคึกคัก จุดประทัดตลอดงาน



ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
ภาคใต้มีพื้นที่เป็นคาบสมุทรและชายฝั่งทะเล ท้าให้มีชนชาติต่าง ๆ เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย และเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ในอดีต จึงมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ เช่น คนจีน คนอินเดีย และคนที่มีเชื้อสายมาเลเซียที่นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้บริเวณชายฝั่ง และเกาะบางเกาะของภาคใต้ทางด้านตะวันตกมีชาวพื้นเมืองที่เรียกว่า ชาวเล ส่งผลให้เกิดการหล่อหลอมลักษณะเด่นให้มีการปรับตัว ปรับวิถีชีวิตจนเป็นลักษณะบุคลิกภาพเฉพาะของคนภาคใต้
ภูมิปัญญาการปลูกบ้านการสร้างที่อยู่อาศัยของชาวภาคใต้ในสมัยก่อน จะมีลักษณะเป็นบ้านหรือเรือน ซึ่งเรียกกันโดยสำเนียงภาษาใต้ว่า เรินลักษณะของเรือนของชาวใต้มี 2 ลักษณะ คือ เรือนเครื่องผูกและเรือนเครื่องสับ
เรือนเครื่องผูก
เรือนที่ใช้วัสดุต่าง ๆ ประกอบกันเช้ากับโครงสร้างและตัวเรือน โดยการผูกยึดด้วยเชือก เถาวัลย์ วัสดุหลักมักเป็นไม้ไผ่และไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่ล้วนแล้วแต่หาได้ ภายในท้องถิ่นมีการปรับแปรวัสดุง่าย เพียงน้ามาผูกยึด สอดสานเรียบร้อยเข้าด้วยกันไม่มีความคง ทนถาวรและให้ความปลอดภัยไม่มากนักภูมิปัญญาในการสร้างเรือนไทยเครื่องผูกของชาวใต้
เรือนเครื่องสับ
เป็นเรือนที่เกิดขึ้นหลังเรือนเครื่องผูก เนื่องจากเครื่องมือเครื่องใช้ ในการแปรรูปไม่พัฒนา ยังใช้ขวาน เลื่อย สำหรับตัดโค่น และตัดแต่งต้นไม้ให้เป็นเหลี่ยมได้ง่าย เรือนเครื่องสับจึงใช้ไม้เหลี่ยม ขั้นแรกอาจมีแค่ มีด พร้า ขวาน สำหรับสับตกแต่ง จึงเรียกเรือนที่ ใช้ซึ่งสับ ตกแต่งด้วยขวาน และมีดพร้าว่า เรือนเครื่องสับ

ภูมิปัญญาเกี่ยวกับอาหาร
คนภาคใต้มีพื้นที่ติดทะเลมาก อาหารหักจึงเป็นอาหารทะเล ซึ่งมีกลิ่นคาวจัด อาหารจึงต้อองมีเครื่องเทศโดยเฉพาะขมิ้น อาหารมีรสจัด เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด มีผักสดเคียงทุกมื้อเช่น สะตอ ลูกเนียง และผักเหนาะ และผักต่างๆ เป็นต้น
อาหารคาว
วัฒนธรรมการกินของคนภาคใต้ได้รับการผสมผสานกลมกลืนระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิม อาหารภาคใต้ได้แก่ แกงเหลือง แกงไตปลา ข้าวยำ คั่วกลิ้ง ปลาทอดขมิ้น เป็นต้น
คั่วกลิ้ง
แกงไตปลา




อาหารหวาน
ขนมพื้นเมืองที่มีลักษณะเฉพาะตนอยู่หลายชนิด เช่น ขนมลา ขนมบ้า ขนมกง ขนมจี้โจ้ เป็นต้น
 
ขนมจี้โจ้

ขนมกง

ขนมบ้า






ที่มา eic.wu.ac.th/Data_Download/.../ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้.pdf

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557




ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมภาคกลาง



บริเวณภาคกลางส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ที่เกิดจาก การทับถมดินตะกอนของแม่น้ำ การตั้งถิ่นฐานของ ผู้จะอยู่บริเวณน้ำ เช่น การพายเรือสินค้าจนกลาย เป็นตลาดน้ำ การเล่นเพลง หรือการอาศัยอยู่บน เรือนแพ เป็นต้น

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย
บ้านทรงไทยนับว่าเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ที่ได้คิดสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และประโยชน์ใช้สอย คือ เป็นเรือนยกพื้นสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวเรือน ส่วนหลังคาที่สูงและลาดชันก็เหมาะ กับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว และมีฝนตกชุกของภาคกลาง เพราะทำให้อากาศร้อนจากภายนอกถ่ายเทมา ยังห้องได้ช้า และทำให้ฝนไหลลงอย่างรวดเร็ว รอบตัวเรือนมีชายคายื่นยาว เพื่อป้องกันกันฝนสาด และ แสงแดด การสร้างบ้านยังคำนึงเรื่องทิศทางของการระบายลม และระบายความร้อนเอกลักษณ์อีกอย่างของเรือนไทย คือมีชานบ้านซึ่งเป็นที่โล่งกลางบ้าน ซึ่งมีประโยชน์ เช่น เป็นที่พัก หย่อนใจของคนในครอบครัว นั่งทำงาน รับรองแขก และการอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่
บ้านเรือนไทย หรือเรือนไทย เรือนไทยภาคกลางจะสร้างด้วยไม้ แบ่งเป็น
2 ประเภทคือ
1.  เรือนเครื่องสับ เป็นเรือนที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง
2.    เรือนไม้ผูก เป็นเรือนที่ทำด้วยไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่  สร้างโดยไม่ใช้ตะปู แต่จะนำจำนวนต่างๆ ของเรือนมาประกอบกัน เรียกว่า การเข้าไม้ ทำให้สะดวกต่อการย้ายบ้าน

วัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรม
คนในภาคกลางมีวัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรมมากมาย ทั้งวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับคน เช่น การลงแขกทำนา การละเล่นเพลงพื้นบ้าน และวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ เช่น การบูชาแม่โพสพ

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและพิธีกรรม
ประเพณีรับบัว

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง


วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
คนภาคกลางนิยมรับประทานข้าวเจ้าเป็นอาหาร หลักในอดีต คนภาคกลางนิยมใช้ใบบัวห่อข้าวนำไปรับประทานเวลา ออกไปทำงานในนา หรือการเดินทางเรียกกันว่า"ข้าวห่อใบบัว" กับ ข้าวที่นิยมมีเกือบทุกมื้ออาหาร คือ น้ำพริกประเภทต่างๆ เช่น น้ำพริก เผา น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาย่าง รับประทานกับผัก  และ นิยมปรุงรสอาหารด้วยน้ำปลา

น้ำพริกกะปิ
ข้าวห่อใบบัว
รสชาติอาหารภาค กลางมีการผสมผสานของหลากหลายรสชาติ ทั้งรสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เอกลักษณ์ของรสชาติอาหาร ไม่ได้เกิดจากเครื่องปรุง เพียงอย่างเดียว เช่น รสเปรี้ยวที่ใช้ปรุงอาหาร อาจได้ทั้งจากมะนาว มะขาม มะกรูด ตะลิงปลิง ส้มแขก ผล ไม้บางชนิด เช่น มะดัน มะม่วง เป็นต้น การใช้เครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดความ หลากหลายใช้ชนิดของอาหารไทยภาคกลาง เช่น ต้มยำ ใช้มะนาว เพื่อให้รสเปรี้ยว แต่ต้มโคล้ง ใช้น้ำมะขามเปียก เพื่อให้รส เปรี้ยวแทน
ต้มยำ

ต้มโคล้ง



  ที่มา   http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type1/social03/01/contents/culture_central.html